ในการทำ ประกันรถยนต์ นั้นจะมีรายละเอียดและข้อมูลต่างๆ มากมายที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้ การก่อนศึกษาถึงรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครองต่างๆ เหล่านั้น ควรจะมีการศึกษารายละเอียดพื้นฐานเกี่ยวกับประกันรถยนต์ก่อน ไม่ว่าจะเป็น ความหมาย ประเภท หรือแม้กระทั่ง คำศัพท์สำคัญที่ใช้แวดวงประกันรถยนต์ใช้กัน ได้แก่

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

คำแรกที่คนที่ซื้อรถมาในช่วงแรกมักจะเคยได้ยินหรือเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า พ.ร.บ. นั้น เป็นประกันรถยนต์ที่ผู้ที่เป็นเจ้าของรถทุกคนต้องทำให้รถทุกคันที่มี เนื่องจากเป็นกฎข้อบังคับภายใต้กฎหมาย เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้ทุกการขับขี่ของเรา เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเราจะได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่กฎหมายมอบให้ผ่านประกันรถยนต์ภาคบังคับนี้

ในเมื่อพ.ร.บ. ถือเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย เมื่อมีการฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษเช่นกัน เมื่อหมดอายุตามกำหนดแล้วเราไม่ต่อพ.ร.บ. ก็จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือถ้านำรถที่ไม่ได้ต่อพ.ร.บ.มาใช้งานก็จะต้องระวางโทษปรับในจำนวนที่เท่ากันอีกด้วย

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจ เป็นประกันรถยนต์ที่ไม่ได้บังคับตามกฎหมาย เราที่เป็นเจ้าของรถสามารถเลือกทำเพิ่มเติมตามความต้องการของตัวเองได้ โดยประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจนั้นจะให้ความคุ้มครองในส่วนที่นอกเหนือไปจากพ.ร.บ. ซึ่งจะถือว่าให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งกว่า ประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจจะถูกแบ่งออกเป็นประเภท แต่ละประเภทจะมีเงื่อนไขและความคุ้มครองที่แตกต่างกัน เพื่อให้เราสามารถเลือกซื้อตามรูปแบบการใช้งานรถและความเหมาะสมของตัวเอง

ภาษีรถยนต์

คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องทำเป็นประจำทุกปีเพราะเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย ถ้าขาดการต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกันนาน 3 ปีจะทำให้ทะเบียนรถของเราถูกระงับ ซึ่งจะสร้างความยากลำบากในภายหลังได้ โดยกรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ระบุเอาไว้ว่าจำนวนภาษีที่จะต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ (ลูกบาศก์เมตร, ซีซี) ของรถแต่ละคัน นอกจากนี้ การจะชำระภาษีรถยนต์ได้จะต้องมีการต่ออายุประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับไปพร้อมกัน เพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เมื่อชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว รถทุกคันจะได้รับสติกเกอร์สำหรับเอาไว้ติดที่หน้ากระจกรถยนต์ เพราะเป็นเอกสารสำคัญที่จะมีการตรวจสอบทุกครั้งหลังจากเกิดเหตุใดๆ ก็ตาม

ค่าเสียหายส่วนแรก

ค่าเสียหายส่วนแรกจะแบ่งเป็ย 2 แบบตามชนิดของประกันรถยนต์ คือ ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยบังคับเก็บทุกคนไม่ว่าจะทำประกันชั้นใดก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้คนขับแจ้งเคลมโดยที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง และค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ เป็นค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องชดเชยด้วยตัวเองในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเป็นฝ่ายผิดนั่นเอง ซึ่งค่าเสียหายส่วนแรกนี้จะมีผลต่อราคาเบี้ยประกันที่ถูกลงด้วย

ประกันรถยนต์ เปรียบเสมือนหลักประกันทางการเงินเมื่อเราได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆ แล้วต้องมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถต่างๆ ทั้งนี้ ในกาทำประกันควรมีการศึกษารายละเอียดให้รอบคอบเพื่อที่จะได้เลือกเงื่อนไขที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดและป้องกันอุปสรรคปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *